เทคโนโลยีขับเคลื่อนครัวโลก | FoodTech for Kitchen World

  Course Number depa003
  Classes Start
  Estimated Effort 02:00
Enrollment is Closed


เทคโนโลยีอาหาร ขับเคลื่อนครัวโลก
Food Technology Drive to Kitchen world



การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 จำเป็นต้องส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ผลิตภัณฑ์จากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เปลี่ยนจากการจำหน่ายสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินค้านวัตกรรม มีการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิตสินค้า และเทคโนโลยีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ในภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เป็นกลุ่มสินค้าที่มีความจำเป็นและมีการเติบโตมากขึ้นเรื่อย แนวโน้มของการลงทุนด้านอาหารและเครื่องดื่ม สามารถสร้างผลทางเศรษฐกิจได้มาก แต่การอยู่รอดได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ต้องมึความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี การดำเนินการตามคุณภาพมาตรฐานต่างๆของหน่วยงานภายในประเทศและระดับนานาชาติ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการขยายและควบคุมมาตรฐานของธุรกิจ ดังนั้น หลักสูตรอาหารขับเคลื่อนครัวโลก จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องมีทักษะเบื้องต้นทางด้านเทคโนโลยีการอาหาร เพื่อการต่อยอดการพัฒนาธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มต่อไป

____________________________________________________________________

LO1 เพื่อเรียนรู้ทิศทางอุตสาหกรรมและสามารถเป็นผู้ประกอบการด้านอาหารรายใหม่

LO2 เพื่อให้มีความเข้าใจในมาตรฐานและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร

LO3 เพื่อสามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตสินค้าอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

LO4 เพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญและเรียนรู้เทคโนโลยีการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม

LO5 มีเพื่อสามารถนำแนวคิดมาพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมอาหาร

____________________________________________________________________

- ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ มีความสนใจธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มหรือความต้องการปรับปรุงธุรกิจเดิม
- ผู้เรียนควรมีอุปกรณ์ดิจิทัล อาทิ คอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อจะได้ทดลองปฏิบัติตามหลักสูตรได้

____________________________________________________________________

ผู้เรียนจะต้องได้คะแนนอย่างน้อย ร้อยละ 70 โดยมีการเก็บคะแนน ดังนี้

- กิจกรรมระหว่างเรียน ร้อยละ 30 - ทดสอบย่อย ร้อยละ 70
____________________________________________________________________

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน

หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร.ปรีสาร รักวาทิน

ดร.ปรีสาร รักวาทิน

ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

อ. ยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์

อ. ยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

____________________________________________________________________

- ผู้เรียนควรจัดสรรเวลาในการเข้าใช้ระบบ เพื่อศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมตามโครงสร้างรายวิชา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
- การเรียนในภาคปฏิบัติการ ผู้เรียนควรทดลองปฎิบัติตามขั้นตอนการแนะนำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
Enrollment is Closed

Statistic

Enrollments
No data
{{all_data.statistic.enrollment}}