คณิตศาสตร์เพื่อคอมพิวเตอร์ (Mathematics for Computer)

  Course Number sut001
  Classes Start
  Estimated Effort 3:00
Enrollment is Closed

รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย

รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น

"การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)"

เกี่ยวกับรายวิชา


ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ระบบจำนวน ระบบเลขฐาน การแทนค่าและหลักการคำนวณของเครื่องคอมพิวเตอร์ เซต ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน ตรรกศาสตร์เบื้องต้น พีชคณิตบูลีนและวงจรลอจิก พีชคณิตเชิงเส้นและเมทริกซ์ และทฤษฎีกราฟเบื้องต้น

ความรู้พื้นฐาน


คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

วัตถุประสงค์การเรียนรู้


  • บอกความหมายและความสำคัญของคณิตศาสตร์เพื่อคอมพิวเตอร์
  • อธิบายหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์
  • ยกตัวอย่างการนำคณิตศาสตร์เพื่อคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
  • วิเคราะห์และออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องคณิตศาสตร์เพื่อคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสม
  • สร้างเกณฑ์สำหรับการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน โดยบูรณาการความรู้เรื่องคณิตศาสตร์เพื่อคอมพิวเตอร์กับสถานการณ์ปัจจุบันของปัญหา

การวัดผล


ผู้เรียนจะได้รับผลการเรียนว่าผ่าน ต้องได้คะแนนรวมตั้งแต่ 82 คะแนนขึ้นไปจากคะแนนเต็ม 100 คะแนนในรายวิชา จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ โดยมีรายละเอียดการเก็บคะแนนดังต่อไปนี้

  • 1. คะแนนเก็บสะสมแต้มการผ่านการเรียนรู้ หรือ RC (route-check) มีจำนวน 37 จุด จะคิดเป็น 10% ของคะแนนเต็ม 100 คะแนน
  • 2. คะแนนการบ้านท้ายบทเรียน มีจำนวน 9 ครั้ง จะคิดเป็น 20% ของคะแนนเต็ม 100 คะแนน
  • 3. คะแนนสอบปลายภาค มีจำนวน 45 ข้อ จะคิดเป็น 70% ของคะแนนเต็ม 100 คะแนน

Course Staff


Course Staff Image #1

อาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ ดร.พิชญสินี กิจวัฒนาถาวร

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
pichak@sut.ac.th

Course Staff Image #2

ผู้ช่วยสอน

นายภัทรพล ศรีรักษ์

ผู้ช่วยสอนและวิจัยสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
pattarapol@sut.ac.th

คำแนะนำการเรียนรู้


1) ผู้เรียนควรแบ่งเวลาสำหรับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างน้อยหัวข้อบทเรียนละ 2 ชั่วโมง

2) ผู้เรียนควรเข้าเรียนรู้บทเรียนจำกระบบ MOOC ร่วมกับช่องทางการเรียนรู้อื่นโดยมีการนำความรู้ในแต่ละเรื่องไปฝึกฝนแก้โจทย์ปัญหารูปแบบต่างๆ

3) เน้นการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วมและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน-ผู้สอน


คำชี้แจงเพิ่มเติม : เกี่ยวกับเวลาที่ปรากฏในระบบของ THAI MOOC


เนื่องจากเวลาที่แสดงในระบบของ Thai MOOC นั้น จะใช้เวลาที่เรียกว่า UTC (หรือ Greenwich Mean Time: GMT) เป็นหลัก ซึ่งการเรียนรู้ผ่านระบบ Thai MOOC นี้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ไม่ว่าเราจะอยู่ส่วนไหนของโลกโดยอาศัยอินเตอร์เน็ตในการติอต่อสื่อสาร ดังนั้น เวลาที่แสดงในระบบของ Thai MOOC นี้จะช้ากว่าเวลาของประเทศไทย 7 ชั่วโมง เช่น เวลาเที่ยง (12.00 น.) ของประเทศไทย จะเท่ากับตีห้า (05.00 น.) ในเวลา UTC





สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาสิทธิ์แบบ Creative Common ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA

Enrollment is Closed

Statistic

Enrollments
No data
{{all_data.statistic.enrollment}}