การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับระบบสารสนเทศ (Basic Computer Programming for Information System)

  Course Number sut002
  Classes Start
  Estimated Effort 02:00
Enrollment is Closed

 ชื่อรายวิชา


การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับระบบสารสนเทศ
(Basic Computer Programming for Information System)


 คำอธิบายรายวิชา


     การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใด ผู้พัฒนาจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการเขียนโปรแกรม การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และเป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้โปรแกรมหรือระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานและให้ผลลัพธ์ได้อย่างถูกต้อง
     รายวิชานี้จะให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนผังงาน ขั้นตอนและระเบียบวิธีการโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง อาทิ ภาษาซีพลัสพลัส การรับค่าและแสดงผล ชนิดของตัวแปร นิพจน์ ตัวดำเนินการ คำสั่งควบคุมทั้งแบบมีเงื่อนไขและแบบทำซ้ำ แถวลำดับ โดยการเรียนรู้ตลอดรายวิชาจะใช้เทคนิคการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) หรือการโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

     ประมวลรายวิชา
     โครงสร้างรายวิชา


 จำนวนชั่วโมงเรียนรู้


จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 12 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 4 ชั่วโมง 27 นาที)


 วัตถุประสงค์การเรียนรู้


  • LO 1: ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นสำหรับระบบสารสนเทศได้
    • LO 1.1 ผู้เรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีการเขียนโปรแกรมและหลักไวยากรณ์ได้
    • LO 1.2 ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการทำงานของตัวดําเนินการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหางานด้านสารสนเทศได้
  • LO 2: ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาซีพลัสพลัสที่สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
    • LO 2.1 ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมโดยประยุกต์ใช้คำสั่งควบคุมแบบเงื่อนไข และสามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
    • LO 2.2 ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมโดยประยุกต์ใช้คำสั่งควบคุมเงื่อนไขแบบทำซ้ำ และสามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
    • LO 2.3 ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมโดยประยุกต์ใช้ตัวแปรแถวลำดับ และสามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง

 คุณสมบัติผู้เรียน


นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ผู้สนใจในวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง


 เกณฑ์การวัดผล


- แบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test) ทุกบท 40%
- สอบกลางภาค (Midterm Exam) 30%
- สอบปลายภาค (Final Exam) 30%

*ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้*


 รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียน


ในบทเรียนมี Discussion ให้ผู้เรียนทุกท่านสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมเรียนและทีมผู้สอนได้ โดยทีมผู้สอนจะเข้ามาอ่านทุกวันเสาร์ของแต่ละสัปดาห์


 ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC


Course Staff Image #1

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก

อาจารย์ ดร.พิชญสินี กิจวัฒนาถาวร
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อีเมล pichak@sut.ac.th

Course Staff Image #2

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิติมนต์ อั่งสกุล
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อีเมล jitimon@g.sut.ac.th

Course Staff Image #2

ผู้ช่วยสอน

นายภัทรพล ศรีรักษ์
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อีเมล pattarapol@sut.ac.th


 คำแนะนำการเรียนรู้


1) ผู้เรียนควรแบ่งเวลาสำหรับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างน้อยหัวข้อบทเรียนละ 5 ชั่วโมง

2) ผู้เรียนควรเข้าเรียนรู้บทเรียนจำกระบบ MOOC ร่วมกับช่องทางการเรียนรู้อื่นโดยมีการนำความรู้ในแต่ละเรื่องไปฝึกฝนแก้โจทย์ปัญหารูปแบบต่างๆ

3) เน้นการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วมและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน-ผู้สอน


 คำชี้แจงเพิ่มเติม : เกี่ยวกับเวลาที่ปรากฏในระบบของ THAI MOOC


เนื่องจากเวลาที่แสดงในระบบของ Thai MOOC นั้น จะใช้เวลาที่เรียกว่า UTC (หรือ Greenwich Mean Time: GMT) เป็นหลัก ซึ่งการเรียนรู้ผ่านระบบ Thai MOOC นี้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ไม่ว่าเราจะอยู่ส่วนไหนของโลกโดยอาศัยอินเตอร์เน็ตในการติอต่อสื่อสาร ดังนั้น เวลาที่แสดงในระบบของ Thai MOOC นี้จะช้ากว่าเวลาของประเทศไทย 7 ชั่วโมง เช่น เวลาเที่ยง (12.00 น.) ของประเทศไทย จะเท่ากับตีห้า (05.00 น.) ในเวลา UTC


cc

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enrollment is Closed

Statistic

Enrollments
No data
{{all_data.statistic.enrollment}}